วันศุกร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2557

โป๊ยเซียน




     โป๊ยเซียน (ชื่อวิทยาศาสตร์Euphorbia milli Desmoul) เป็นหนึ่งในไม้มงคล ชื่อสามัญของมันคือ Crown of thorns, Christ Thorn จัดอยู่ในวงศ์ Euphorbiaceae อยู่ในสกุล Euphorbia ซึ่งเป็นสกุลเดียวกับพืชหลายชนิด เช่น ต้นคริสต์มาส และส้มเช้า

     โป๊ยเซียน มาจากภาษาจีน แปลว่าเทพยดาทั้ง 8 องค์ ได้แก่ เซียนทิก๋วยลี้ เซียนฮั่นจงหลี เซียนลือท่งปิน เซียนเจียงกั๋วเล้า เซียนหลันไฉ่เหอ เซียนฮ่อเซียนโกว เซียนหันเซียงจือ เซียนเชาก๊กกู๋ เชื่อกันว่า ถ้าบ้านใดมีดอกโป๊ยเซียนครบ 8 ดอก จะนำความโชคดีมาให้แก่บ้านของผู้นั้น

ลักษณะโดยทั่วไป
     ใบยาวรี ปลายใบจะแหลม ออกดอกเป็นกลุ่มๆ แต่ละดอกจะมีกลีบอยู่ตรงข้ามกัน ดอกโป๊ยเซียนมีหลายสี เช่น แดง เหลือง ชมพู ส้ม ขาว เป็นต้น ดอกโป๊ยเซียนจะออกดอกทั้งปี แต่ออกมากในหน้าหนาว และดอกจะทนมาก ลำต้นมีหนามแหลม และแข็งคล้ายกระบองเพชร



การดูแลรักษา
     เนื่องจากโป๊ยเซียนเป็นพืชมงคล ผู้ปลูกจึงควรดูแลรักษามากเป็นพิเศษเพราะมันมีคุณค่าทางจิตใจ ผู้ปลูกจึงควรปลูกในสภาพแวดล้อมที่ดี และควรจะมีการดูแลรักษาที่ดีด้วย
     ดินที่นำมาปลูก ควรเป็นดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี ไม่เช่นนั้นรากโป๊ยเซียนอาจเน่าได้ ที่สำคัญควรเปลี่ยนดินทุกๆปี
     แสงแดด โป๊ยเซียนเป็นพืชที่ชอบแดด จึงควรให้โป๊ยเซียนได้รับแสงแดดที่เพียงพอ ถ้ามากไปดอกจะเล็ก แต่ถ้าน้อยไปดอกจะโต ต้นจะไม่แข็งแรง
     น้ำ โป๊ยเซียนทนต่อสภาพแล้งได้ดีพอสมควร จึงไม่จำเป็นต้องให้น้ำทุกวัน ถ้าโป๊ยเซียนอยู่ในช่วงออกดอก ไม่ควรรดน้ำที่ดอกเพราะจะทำให้ดอกเน่าและร่วงเร็ว และหากรดน้ำมากเกินไป จะทำให้โป๊ยเซียนเป็นโรครากเน่า และเกิดเชื้อราขึ้นในดินที่ใช้ปลูก
     ปุ๋ย สามารถใส่ได้ทั้งปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์ โดยปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอกหรือ ปุ๋ยหมักจะทำให้ดินร่วนซุย ควรให้ปุ๋ยแก่โป๊ยเซียนเดือนละ 1-2ครั้ง
     การตัดแต่งกิ่ง โป๊ยเซียนบางพันธุ์อาจแตกกิ่งออกมามาก ทำให้ใบอาจจะไปปิดบังแสง แล้วทำให้อากาศไม่ถ่ายเท จึงควรมีการตัดแต่งกิ่งทั้งเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก และเพื่อความสวยงาม นอกจากนี้กิ่งที่ตัดออกมายังสามารถนำไปขยายพันธุ์ต่อได้อีกด้วย






















ชบาจีน




     ชบา (ชื่อวิทยาศาสตร์Hibiscus syriacus L.; Hibiscus chinenis DC. ) เป็นไม้ในสกุล Hibiscus มีถิ่นกำเนิด จาก ประเทศจีน ที่มีความผันแปรทั้งรูปทรงของใบ ลำต้น และดอกมาก ตลอดจนปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมได้ง่าย จากความสวยงามของดอกทำให้ได้รับสมญาว่า Queen of Tropic Flower หรือ ราชินีแห่งไม้ดอกเมืองร้อน เป็นดอกไม้ประจำชาติของมาเลเซียและจาไมก้า และเป็นดอกไม้ประจำรัฐฮาวาย ส่วนในศาสนาฮินดูถือว่าเป็นดอกไม้ของเจ้าแม่กาลี

สรรพคุณทางยาและประโยชน์
     ในคัมภีร์อายุรเวท พูดถึงสรรพคุณของดอกชบาว่า ช่วยฟอกโลหิต บำรุงจิตใจให้แช่มชื่น บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาและบรรเทาโรคเกี่ยวกับไต และโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่น เสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาเรื่องระดูขาว
     ไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นยาดีของอินเดีย ส่วนอื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บำรุงผม
  • ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว - นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอนท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอามาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน
  • ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะกลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่างละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนดแล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยาบำรุงประจำเดือน
  • ดับร้อนและแก้ไข้ - ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี
  • รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต - ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต
  • รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก - ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี
  • บำรุงผม - ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม

มะลิ




    มะลิ (ชื่อวิทยาศาสตร์Jasminumอังกฤษ: Jasmine; อินโดนีเซียMelati) เป็นพรรณไม้ยืนต้น พบได้ในแถบเอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ลักษณะเป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก จนถึงขนาดกลาง บางชนิดมีลำต้นแบบเถาเลื้อย ลำต้นมีความสูงประมาณ 1-3 เมตร ผิวเปลือกลำต้นสีขาวมีสะเก็ดรอยแตกเล็กน้อย ลำต้นเล็กกลมแตกกิ่งก้านสาขาไปรอบ ๆ ลำต้น ใบเป็นใบเดี่ยว แตกใบเรียงกันเป็นคู่ ๆ ตามก้านและกิ่งลักษณะของใบมนป้อม โคนใบสอบเรียว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบเป็นมันสีเขียวเข้ม ใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ออกดอกเป็นช่อ ออกตามส่วนยอดหรือง่ามใบ ดอกมีขนาดเล็กสีขาว และมีกลิ่นหอม ดอกมีกลีบดอกประมาณ 6-8 กลีบ เรียงกันเป็นวงกลมหรือซ้อนกันเป็นชั้นแล้วแต่ชนิดพันธุ์ ขนาดดอกบานเต็มที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร ผลเป็นรูปกลมรีเล็กเมื่อสุกจะมีสีดำภายในมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด นอกจากนี้ลักษณะของลำต้นและดอกแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์

สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
  • ดอก -แก้หืด ใช้แต่งกลิ่นใบชา ใช้อบขนมต่างๆ แก้โรคบิด อาการปวดท้อง หากตำให้ละเอียดพอกที่ขมับ แก้อาการปวดหัวและปวดหูชั้นกลางได้ ช่วยรักษาแผลพุพอง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย รวมทั้งเป็นยาบำรุงหัวใจได้อย่างดีเยี่ยม
  • ใบ ราก - ทำยาหยอดตา
  • ใบ - แก้ไข้แก้ไข้ที่เกิดจากอาการเปลี่ยนแปลงได้ดี ช่วยบำรุงสายตา รวมทั้งรักษาอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย ขับน้ำนม รักษาโรดผิวหนัง หากนำใบมาตำแล้วละลายกับน้ำปูนใส แต้มแผลฟกช้ำ แผลเรื้อรัง โรคผิวหนังจะหายไวขึ้น
  • ราก - แก้ปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก เลือดออกตามไรฟัน เสียดท้อง รักษาหลอดลมอักเสบ นำรากมาฝนกินกับน้ำใช้แก้ร้อนใน คนที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก ให้นำรากมาประมาณ 1-1.5 กรัม ต้มน้ำกินก็ช่วยได้


พันธุ์มะลิ
  • มะลิลา หรือ มะลิซ้อน เป็นไม้รอเลื้อย กิ่งอ่อนและกิ่งกึ่งแก่กึ่งอ่อนมีขน ใบเป็นใบเดียวออกเป็นคู่ตรงกันข้ามกัน ใบเป็นรูปไข่ขอบเรียบ ดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก ดอกกลางบานก่อน กลีบดอกชั้นเดียว ปลายกลีบมน ดอกสีขาว มะลิชนิดนี้ จะใช้ในการเด็ดดอกขาย
  • มะลุลี ลักษณะต้น ใบ อื่น ๆ คล้ายมะลิลา แต่ใบใหญ่กว่าดอกออกเป็นช่อ มี 3 ดอก และดอกกลางบานก่อน เช่นกัน แต่มีดอกซ้อน 3-4 ชั้น ปลายกลีบมน
  • มะลิถอดลักษณะโดยทั่ว ๆ ไป ทั้งต้น ใบ การจัดเรียงของใบ รูปแบบของใบคล้ายมะลิลาซ้อน แต่ใบเป็นคลื่น ดอกเป็นช่อมี 3 ดอก ดอกซ้อนมากชั้นกว่า คือ 3-6 ชั้น ดอกสีขาว มีกลิ่นหอมมาก ขนาดดอก 2.5-3.5 ซม.
  • มะลิซ้อน (Grand Duke of Tuscany) ลักษณะทั่ว ๆ ไปคล้ายมะลิถอด และมะลิลาซ้อน แต่ใบมีลักษณะแคบกว่า ดอกออกเป็นช่อมี 3 ดอกเช่นกัน กลีบดอกซ้อน แต่ซ้อนกว่า 5 ชั้น แต่ละชั้นมีกลีบดอก 10 กลีบ ขึ้นไป ขนาดดอก 3-4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอมมาก
  • มะลิพิกุล หรือมะลิฉัตร ลักษณะต่าง ๆ คล้ายกับ 4 ชนิดแรก ใบคล้ายมะลิซ้อนและมีคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อ 3 ดอก ดอกซ้อนเป็นชั้น ๆ เห็นได้ชัด (คล้ายฉัตร) และดอกมีขนาดเล็กพอ ๆ กับดอกพิกุล ขนาดดอก 1-1.4 ซม. ดอกสีขาว กลิ่นหอม
  • มะลิทะเล
  • มะลิพวง (Angelwing jasmine)
  • มะลิเลื้อย
  • มะลิวัลย์ (Angel-hair jasmine)
  • มะลิฉัตร (Arabian jasmine)
  • พุทธชาด (Star jasmine)
  • มะลิเฉลิมนรินทร์ (Jasminum bhumibolianum Chalermglin)





ชวนชม




     ชวนชม (Desert Rose; Impala Lily; Mock Azalea) เป็นชื่อของพรรณไม้ที่มีสีสันของดอกสวยงาม เป็นไม้ที่ปลูกเลี้ยงง่าย ทนต่อสภาพแห้งแล้งมาก จนได้รับสมญาว่า Desert Rose (กุหลาบทะเลทราย) นอกจากนี้ตามความเชื่อของคนไทยชื่อ "ชวนชม" ยังเป็นชื่อที่มีความไพเราะเป็นศิริมงคล และชาวจีนว่า "ปู้กุ้ยฮวย" ซึ่งแปลว่า ดอกไม้แห่งความร่ำรวย แต่ดอกชวนชมมีสาร abobioside, echubioside ตรงนำ้ยางสีขาว ถ้าน้ำยางถูกผิวหนังจะทำให้ผิวหนังอักเสบเป็นผื่นแดง ถ้าเข้าตา ตาจะอักเสบ กินเข้าไปจะเป็นพิษ แต่น้ำยางมีรสขมมาก โอกาสกินมีน้อย ถ้ากินจะมีผลต่อหัวใจ อาการเบื้องต้นจะทำให้ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ตาพร่า หัวใจเต้นอ่อน ความดันลดลงอาจตายได้

ประวัติของชวนชม
     ถิ่นกำเนิดของชวนชมมีการค้นพบครั้งแรกโดยนักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมันชื่อ P. Forskal ทางภาคตะวันออกของทวีปแอฟริกาแถบประเทศแทนซาเนียและเคนย่า ในปี พ.ศ. 2305 แต่ตอนนั้นเชื่อว่าเป็นเพียงลั่นทมพันธุ์ใหม่ ต่อมาปี พ.ศ. 2357 นายโจเซฟ ออกัสต์ ซูลตส์ (Josef August Schultes) นักพฤกษศาสตร์ชาวออสเตรีย ได้อธิบายความแตกต่างระหว่างชวนชมกับลั่นทมจนเป็นที่ยอมรับ ส่วนในประเทศไทย มีการพบชวนชมตั้งแต่ประมาณสมัยรัชกาลที่ 6 แต่ก็ไม่ทราบว่ามีการนำเข้ามาในประเทศไทยเมื่อไร



การปลูกเลี้ยง
     ควรปลูกในที่มีแสงแดดจัดในช่วงครึ่งวันเช้า ดินที่เหมาะสม คือ ดินร่วน ระบายน้ำได้ดีสูตรที่นิยมให้ปลูกคือดินร่วนผสมใบก้ามปูหมักในอัตราส่วน 3:1 หรือดินปลูกสำเร็จรูปขึ้นอยู่กับความเหมาะสม ชวนชมลำต้นอุ้มน้ำได้ดีการให้น้ำจึงไม่ควรให้บ่อยจนเกินไป อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
    การให้ปุ๋ยใช้ปุ๋ยสูตร 16-16-16 สูตรเสมอในปริมาณแต่น้อยทุก 2 สัปดาห์เมื่อโตเต็มที่จึงเปลี่ยนเป็นปุ๋ยเร่งดอกสูตร 8-24-24 ทุก 2 สัปดาห์ การตัดตกแต่งกิ่งต้นชวนชม โดยธรรมชาติของชวนชมเป็นต้นไม้ที่มีความอ่อนช้อย การตัดแต่งกิ่งควรตัดกิ่งเกะเก้งก้างออกไปเพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวกละได้โชว์โขดหรือหวัที่สวยงานของชวนชม
การขยายพันธ์
ทำได้โดยการเพาะเมล็ดการเสียบยอด ซึ่งเป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด
  • การเพาะเมล็ด ควรใช้เมล็ดใหม่ไม่ควรใช้เมล็ดเก่าเก็บไว้นานเมล็ดใหม่จะมีเปอร์เซ็นต์ในการงอกเยอะกว่า นำเมล็ดไปเพาะในตะกร้าที่มีส่วนผสมของทรายหยาบกับขุยมะพร้าวในอัตราส่วน 1:1
  • การเสียบยอด ต้องคัดต้นตอที่แข็งแรง ขนาดตามต้องการ จากนั้นตัดยอดของต้นตอตามขวาง ผ่าให้เป็นรูปตัววี และนำยอดพันธ์ดี ของชวนชม ซึ่งเป็นพันธ์ที่คัดเลือกไว้แล้ว ความยาวประมาณ1.5-2นิ้ว แล้วบากให้เป็นลิ่ม กะขนาดให้พอดีกับรูปตัววีที่ผ่าไว้ที่ต้นตอจากนั้นนำยอดพันธ์ไปเสียบที่ต้นตอ ระวังอย่าให้ต้นช้ำ พันด้วยพลาสติกใสพันต้นไม้ คลุมด้วยถุงพลาสติกแล้วมัดด้วยเชือก ตั้งทิ้งไว้ประมาณ 10-15 วัน จะสังเกตเห็นชวนชมที่นำไปเสียบ เริ่มแตกใบอ่อน จึงแกะถุงพลาสติกที่คุลมออกจะได้ต้นชวนชมพันธ์ใหม่ตามที่ต้องการ





















กล้วยไม้




     กล้วยไม้ หรือ เอื้อง เป็นพืชดอกที่มีความหลากหลายมากที่สุดกลุ่มหนึ่ง โดยมีประมาณ 880 สกุล และประมาณ 22,000 ชนิดที่มีการยอมรับ(อาจมากกว่า 25,000 ชนิด) คิดเป็น 611% ของพืชมีเมล็ด มีการค้นพบราวๆ 800 ชนิดทุกๆปี มีสกุลใหญ่ๆคือ Bulbophyllum (2,000 ชนิด), Epidendrum (1,500 ชนิด), Dendrobium (1,400 ชนิด) และ Pleurothallis (1,000 ชนิด) สายพันธุ์ของกล้วยไม้ที่ขึ้นและเติบโตในป่าเรียกว่า กล้วยไม้ป่า
     กล้วยไม้จัดอยู่ในกลุ่มพืชใบเลี้ยงเดี่ยว อยู่ในวงศ์กล้วยไม้ มีลักษณะการเติบโตแบบต่างๆ ได้แก่
- กล้วยไม้อากาศ คือ กล้วยไม้ที่เกาะอาศัยอยู่บนต้นไม้อื่น โดยมีรากเกาะอยู่กับกิ่งไม้หรือลำต้น
- กล้วยไม้ดิน คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นอยู่ตามพื้นดินที่ปกคลุมด้วยอินทรีย์วัตถุ
- กล้วยไม้หิน คือ กล้วยไม้ที่ขึ้นตามโขดหิน

ประวัติกล้วยไม้
     กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้า ประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้ายไม้ เลี้ยงต้นกล้ายไม้จน กระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเอง
     แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็น อาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของ กล้วยไม้มาก และกล้วยไม้ป่าที่ในพบในภูมิภาคแถบนี้มีลักษณะเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตนเอง แตกต่างจากกล้วยไม้ในภูมิภาคลาตินอเมริกา
     การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ในประเทศไทย จากการสำรวจในอดีตพบว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีกล้วยไม้อยู่ในป่าธรรมขาติ ไม่ต่ำกว่า 1,000 ชนิด ทั้งประเภทที่พบอยู่บนต้นไม้ บนพื้นผิวของภูเขาและบนพื้นดิน สรุปได้ว่าสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติของประเทศไทยเอื้ออำนวยแก่การเจริญงอกงาม ของกล้วยไม้เป็นอย่างมาก ในอดีตชาวชนบทของไทย โดยเฉพาะในแหล่งที่เคยมีกล้วยไม้ป่าอุดมสมบูรณ์ ได้นำกล้ายไม้ป่ามาปลูกเลี้ยงโดยเลียนแบบธรรมชาติ โดยนำกล้วยไม้มาปลูกไว้กับต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ไกล้ๆ บ้านเรือน การเลี้ยงกล้วยไม้เริ่มเปลี่ยนมาเป็นการปลูกเลี้ยงอย่างจริงจังโดยชาวตะวัน ตกผู้หนึ่ง ที่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย เห็นว่าสภาพแวดล้อมของประเทศไทยเหมาะสมสำหรับการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ จึงได้สร้างเรือนกล้วยไม้อย่างง่ายๆ และนำเอากล้วยไม้ป่าจากเขตร้อนของอเมริกา ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าแหล่งใหญ่แหล่งหนึ่งของโลก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากกล้วยไม้ในเอเชียและเอเซียแปซิฟิค โดยนำมาปลูกเลี้ยงเป็นงานอดิเรกในขณะเดียวกันก็มีเจ้านายชั้นสูงและบรรดา ข้าราชการที่ใกล้ชิด ให้ความสนใจเลี้ยงกล้วยไม้เป็นงานอดิเรกเช่นกัน นอกจากนั้นก็ยังมีกลุ่มบุคคลสูงอายุซึ่งเลี้ยงกล้วยไม้เพื่อความสุขทางใจ การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ อย่างไรก็ตามการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบ คือ ในกลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้มีเงินในยุคนั้น และเป็นการปลูกเลี้ยงที่นิยมกล้วยไม้พันธุ์ต่างประเทศ ส่วนกล้วยไม้ที่มีถิ่นกำเนิดในป่าของประเทศไทยจะนิยมและยกย่องเฉพาะพันธุ์ ที่หายากและมีราคาแพง
     หลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี 2475 สภาพการเลี้ยงก็ยังคงจำกัดอยู่ในวงแคบเช่นเดิม แต่ผลงานเกี่ยวกับการผสมพันธุ์กล้วยไม้ในต่างประเทศเริ่มมีอิทธิพลกระตุ้น ให้ผู้เกี่ยวข้องกับวงการกล้วยไม้ในประเทศไทยสนใจกล้วยไม้ลูกผสมมากขึ้น มีการสั่งกล้วยไม้ลูกผสมจากประเทศในทวีปยุโรป สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เพื่อนำเข้ามาปลูกเลี้ยงในประเทศไทย การพัฒนาการปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ เป็นไปอย่างจริงจัง เมื่อประมาณปี 2493 โดยได้มีการวิจัย นับตั้งแต่การรวบรวมปลูกในระดับพื้นฐาน ต่อมาในปี 2497 ได้เริ่มเปิดการฝึกอบรมการเลี้ยงกล้วยไม้ให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และมีการจัดตั้งชมรมกล้วยไม้ขึ้นในปี 2498 ซึ่งต่อมาได้รับการสถาปนาเป็นสมาคมกล้วยไม้เมื่อปี 2500 และในปีเดียวกันนี้ ได้เริ่มมีการนำเอาความรู้ในเรื่องกล้วยไม้และแนวความคิดในการพัฒนาวงการ กล้วยไม้ออกเผยแพร่ทั้งทางโทรทัศน์และวิทยุ และมีการผลิตเอกสารสิ่งพิมพ์เผยแพร่ ทำให้วงการกล้วยไม้ของประเทศไทย ขยายตัวออกไปอย่างกว้างขวาง จนกระทั่งมีการจัดตั้งสมาคมและสโมสรเกี่ยวกับกล้วยไม้ขึ้นในภาคและจังหวัด ต่างๆ ในปี 2501 ได้มีการเปิดการสอนวิชากล้วยไม้ขึ้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เป็นครั้งแรก เพื่อผลิตนักวิชาการและพัฒนางานวิจัยกล้วยไม้ของประเทศ และเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้ไม่ได้จำกัดอยู่ภายในวง แคบอีกต่อไป จากการส่งเสริมดังกล่าว ทำให้มีการนำเข้ากล้วยไม้ลูกผสมจากต่างประเทศ เช่น จากฮาวายและสิงคโปร์จำนวนมากยิ่งขึ้น ทำให้ผู้ที่มีความรู้หันมารวบรวมพันธุ์ผสมและเพาะพันธุ์จากพ่อแม่พันธุ์ใน ประเทศ ทั้งที่เป็นพ่อแม่พันธุ์จากป่า และลูกผสมที่สั่งเข้ามาแล้วในอดีต ปี 2506 วงการกล้วยไม้ของไทยได้เริ่มมีแผนในการขยายข่ายงานออกไปประสานกับวงการกล้วย ไม้สากล เพื่อยกระดับวงการกล้วยไม้ในประเทศให้ทัดเทียมกับต่างประเทศ ปี 2509 เริ่มการทำสวนกล้วยไม้ตัดดอกอย่างจริงจัง เมื่อไทยเริ่มส่งออกกล้วยไม้ไปสู่ตลาดต่างประเทศในยุโรปตะวันตก เช่น สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน เนเธอร์แลนด์ และอิตาลี ต่อมาจึงขยายตลาดไปสู่ประเทศญี่ปุ่น แคนาดา และบางรัฐของสหรัฐอเมริกา.























กุหลาบ


     กุหลาบ (อังกฤษroseชื่อวิทยาศาสตร์Rosa hybrids) เป็นดอกไม้ที่ได้รับความนิยมปลูกมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลกที่มีต้นกำเนิดจากทวีปเอเชีย ผู้คนนิยมปลูกเพื่อความสวยงาม ตกแต่งสวน, ประดับตกแต่งบ้าน, ประดับสถานที่, ปลูกเพื่อการพาณิชย์ อาทิ เพื่อนำไปสกัดน้ำหอม นำไปทำเป็นส่วนประกอบของสปา เป็นต้น

ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
     กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการปลูกเป็นการค้ากันแพร่หลายทั่วโลกมานานแล้ว กุหลาบเป็นไม้ตัดดอกที่มีการซื้อขาย เป็นอันดับหนึ่งในตลาดประมูลอัลสเมีย ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นตลาดประมูลไม้ดอก ที่ใหญ่ที่สุดของโลก เมื่อ พ.ศ. 2542 มีการซื้อขายถึง 1,672 ล้านดอก และมักจะมียอดขายสูงสุดในประเทศต่าง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับไม้ดอกชนิดอื่น ๆ โดยประเทศที่ปลูกกุหลาบรายใหญ่ของโลกได้แก่ อิตาลี เนเธอร์แลนด์ สเปน สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ อิสราเอล เยอรมนี เคนยา ซิมบับเว เบลเยียม ฝรั่งเศส เม็กซิโก แทนซาเนีย และมาลาวี เป็นต้น
     ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกกุหลาบตัดดอกประมาณ 5,500 ไร่ กระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศ แหล่งปลูกที่สำคัญได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ตาก นครปฐม สมุทรสาคร ราชบุรี และกาญจนบุรี มีการขยายตัวของพื้นที่มากที่สุดใน อำเภอพบพระ จังหวัดตาก ซึ่งปัจจุบันประมาณว่ามีพื้นที่การผลิตถึง 3,000 ไร่ เนื่องจาก อ.พบพระ มีสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม พื้นที่ไม่สูงชัน และค่าจ้างแรงงานต่ำ (แรงงานต่างชาติ) การผลิตกุหลาบในประเทศไทยอาจแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะคือ การผลิตกุหลาบในเชิงปริมาณ และการผลิตกุหลาบเชิงคุณภาพ การผลิตกุหลาบเชิงปริมาณ หมายถึงการปลูกกุหลาบในพื้นที่ขนาดใหญ่ หรือปลูกในพื้นที่ราบ ซึ่งจะให้ผลผลิตมีปริมาณมาก แต่ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ เช่น ดอกและก้านมีขนาดเล็ก มีตำหนิจากโรคและแมลง หรือการขนส่ง อายุการปักแจกันสั้น ทำให้ราคาต่ำ การผลิตชนิดนี้ต้องอาศัยการผลิตในปริมาณมากเพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ ส่วนการผลิตกุหลาบในเชิงคุณภาพ นิยมปลูกในเขตภาคเหนือ และบนที่สูง โดยปลูกกุหลาบภายใต้โรงเรือนพลาสติก ในพื้นที่จำกัด มีการจัดการการผลิตและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยวที่ดี ใช้แรงงานที่ชำนาญ ทำให้กุหลาบที่ได้มีคุณภาพดี และปักแจกันได้นาน ตลาดของกุหลาบคุณภาพปานกลางถึงต่ำ (ตลาดล่าง) ในปัจจุบันถึงขั้นอิ่มตัว เกษตรกรขายได้ราคาต่ำมาก ส่วนตลาดของกุหลาบที่มีคุณภาพสูง (ตลาดบน) ผลผลิตในประเทศยังไม่เพียงพอ และขาดความต่อเนื่อง ทำให้ยังต้องนำเข้าดอกกุหลาบจากต่างประเทศ เช่น เนเธอร์แลนด์ และมาเลเซีย เป็นต้น
     ประเทศไทยมีศักยภาพในการผลิตกุหลาบคุณภาพสูงอย่างต่อเนื่อง หากแต่จะต้องผลิตในพื้นที่ที่เหมาะสม คือพื้นที่สูงมากกว่า 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล หากปลูกในที่ราบจะได้คุณภาพดีในช่วงฤดูหนาวเท่านั้น ดังนั้นการผลิตกุหลาบมีแนวโน้มเพิ่มพื้นที่การผลิตบนที่สูงมากขึ้น

ประเภท
     กุหลาบสามารถจำแนกได้หลายแบบ เช่น จำแนกตามลักษณะการเจริญเติบโต ขนาดดอก สีดอก ความสูงต้น และจำแนก ตามลักษณะของดอก เป็นต้น ในที่นี้ได้จำแนกกุหลาบเฉพาะกุหลาบตัดดอกตามลักษณะการใช้ประโยชน์ ทางการค้าในตลาดโลกเป็น 5 ประเภทดังนี้

     - กุหลาบดอกใหญ่ หรือ กุหลาบก้านยาว (large flowered or long stemmed roses) กุหลาบประเภทนี้เป็นกุหลาบไฮบริดที (Hybrid Tea: HT) ที่มีดอกใหญ่ แต่การดูแลรักษายาก ผลผลิตต่ำ (100-150 ดอก/ตร.ม./ปี) และอายุการปักแจกันสั้นกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับกุหลาบ Floribunda มักมีก้านยาวระหว่าง 50-120 เซนติเมตร กุหลาบดอกใหญ่ได้รับความนิยมมากใน สหรัฐอเมริกา โคลัมเบีย เอกวาดอร์ เม็กซิโก ญี่ปุ่น ซิมบับเว โมร๊อกโก ฝรั่งเศส และ อิตาลี พันธุ์กุหลาบดอกใหญ่ที่เป็นที่นิยมในตลาดต่างประเทศได้แก่ พันธุ์ เวก้า (Vega: แดง) , มาดาม เดลบา (Madam Delbard) , วีซ่า (Visa: แดง) , โรเท โรเซ (Rote Rose: แดง) , คารล์ เรด (Carl Red: แดง) , โซเนีย (Sonia: ชมพูส้ม) , เฟิร์สเรด (First Red: แดง) , โพรฟิตา (Prophyta: ปูนแห้ง) , บิอังกา (Bianca: ขาว) , โนเบลส (Noblesse: ชมพูส้ม) และ แกรนด์ กาลา (Grand Gala: แดง) เป็นต้น
     - กุหลาบดอกกลาง หรือ กุหลาบก้านขนาดกลาง (medium flowered or medium stemmed roses) เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ซึ่งมีลักษณะระหว่างกุหลาบดอกใหญ่ และเล็ก เป็นกุหลาบ Hybrid Tea ให้ผลผลิตสูง (150-220 ดอก/ตร.ม./ปี) อายุการปักแจกันยาว และทนการขนส่งได้ดี ความยาวก้านระหว่าง 40-60 ซม. แหล่งผลิตที่สำคัญได้แก่ประเทศเนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิตาลี อิสราเอล ซิมบับเว เคนยา พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ ซาช่า (Sacha: แดง) , เมอร์ซิเดส (Mercedes: แดง) , เกเบรียล (Gabrielle: แดงสด) , คิสส์ (Kiss: ชมพู) , โกลเด้นทาม (Goldentime: เหลือง) , ซาฟารี (Safari: ส้ม) และ ซูวีเนีย (Souvenir: ม่วง) เป็นต้น
     - กุหลาบดอกเล็ก หรือ กุหลาบก้านสั้น (small flowered or short stemmed roses) เป็นกุหลาบที่ได้รับความนิยมปลูก และบริโภคกันมากในยุโรป โดยเฉพาะ เยอรมนี และเนเธอร์แลนด์ กุหลาบก้านสั้นนี้เป็นกุหลาบ Floribunda ที่ให้ผลผลิตสูง (220-350 ดอก/ตร.ม./ปี) อายุการปักแจกันยาว และทนต่อการขนส่งดีกว่ากุหลาบดอกใหญ่ มักมีความยาวก้านระหว่าง 30-50 เซนติเมตร แหล่งผลิตกุหลาบดอกเล็กได้แก่ประเทศ เนเธอร์แลนด์ เยอรมนี อิสราเอล และเคนยา พันธุ์ที่นิยมปลูกได้แก่พันธุ์ ฟริสโก (Frisco:เหลือง) , เอสกิโม (Escimo: ขาว) , โมเทรีย (Motrea: แดง) , เซอไพรซ์ (Surprise: ชมพู) , และ แลมบาด้า (Lambada: แสด) เป็นต้น
     - กุหลาบดอกช่อ (spray roses) เป็นกุหลาบชนิดใหม่ ให้ผลผลิตต่ำต่อพื้นที่ (120-160 ดอกต่อตารางเมตรต่อปี) ความยาวก้านระหว่าง 40-70 ซม. มักมี 4-5 ดอกในหนึ่งช่อ และยังมีตลาดจำกัดอยู่ เช่นพันธุ์ เอวีลีน (Evelien: ชมพู) เดียดีม (Diadeem: ชมพู) และ นิกิต้า (Nikita: แดง) เป็นต้น
     - กุหลาบหนู (miniature roses) มีขนาดเล็กหรือแคระโดยธรรมชาติ ความสูงของทรงพุ่มไม่เกิน 1 ฟุตให้ผลผลิตสูง 450-550 ดอก/ตร.ม./ปี มีความยาวก้านดอกระหว่าง 20-30 ซม. ยังมีตลาดจำกัดอยู่ยกเว้นในประเทศญี่ปุ่น แอฟริกาใต้ และอิตาลี



สายพันธุ์
     การคัดเลือกพันธุ์กุหลาบในปัจจุบันจะคำนึงถึงประโยชน์ และความคุ้มค่าที่ผู้บริโภคจะได้รับ มากกว่าการที่ดอกสวยสะดุดตาแต่เมื่อซื้อไปก็เหี่ยวทันที ดังนั้นการคัดเลือกพันธุ์กุหลาบในปัจจุบันมักมีข้อพิจารณาดังนี้
1.      มีผลผลิตสูง ปัจจุบันกุหลาบดอกเล็กให้ผลผลิตสูงถึง 300 ดอก/ตร.ม./ปี
2.      อายุการปักแจกันนาน พันธุ์กุหลาบในสมัยทศวรรษที่แล้วจะบานได้เพียง 5-6 วัน ปัจจุบันกุหลาบพันธุ์ใหม่ ๆ สามารถบานได้ทนถึง 16 วัน
3.      กุหลาบที่สามารถดูดน้ำได้ดี
4.      กุหลาบที่ไม่มีหนามหรือหนามน้อยเพื่อความสะดวกในการจัดการ
5.      สี สีแดงยังคงครองตลาดอยู่ รองลงมาคือสีชมพู สีอ่อนเย็นตา และสองสีในดอกเดียวกัน
6.      กลิ่น เป็นที่เสียดายที่กุหลาบกลิ่นหอมมักไม่ทน แต่ก็มีการผสมพันธุ์กุหลาบตัดดอกกลิ่นหอมบ้าง สำหรับตลาดท้องถิ่น
7.      มีความต้านทานโรค และทนความเสียหายจากการจัดการสูง